วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กินอย่างไร ช่วยลดสัดส่วนให้สมวัย

ในคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือที่เรียกว่าอ้วนนั้น มักมีความต้องการที่จะลดน้ำหนักให้น้อยลง วิธีการที่ใช้กันมากที่สุดก็คือการลดหรือจำกัดอาหารร่วมกับการออกกำลังกาย

สำหรับ ผู้ใหญ่ที่อ้วน ก็คงสามารถจะจำกัดอาหารได้ตามถนัด แต่ ในเด็กที่อ้วนการจำกัดอาหารเป็นวิธีที่ต้องทำด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากร่างกายและสมองของเด็กนั้นกำลังเจริญเติบโต การจำกัดอาหาร อย่างไม่ถูกวิธีอาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อการพัฒนาระบบต่างๆ ของเด็กได้

สารอาหารสำคัญที่สุดต่อการเจริญเติบโตของเด็ก

สำหรับเด็กทั่วไปสิ่งที่สำคัญที่สุดในการกินอาหารที่จะต้องปฏิบัติเป็นประจำคือการกินอาหารให้ได้สารอาหารครบ ๕ หมู่ ได้แก่
หมู่ที่ ๑ โปรตีน ได้จากอาหารประเภท เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นม และถั่ว อาหารประเภทนี้ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
หมู่ที่ ๒ คาร์โบไฮเดรต ได้จากอาหารประเภท ข้าว แป้ง เผือก มัน และน้ำตาล อาหารประเภทนี้ให้พลังงานแก่ร่างกาย
หมู่ที่ ๓ พืชผักต่างๆ ให้สารอาหารประเภทวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร ช่วยเสริมสร้างการทำงาน ของร่างกาย และช่วยในการขับถ่าย
หมู่ที่ ๔ ผลไม้ต่างๆ ให้สารอาหารประเภทวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร รวมทั้งให้พลังงานเพราะในผลไม้มีน้ำตาล
หมู่ที่ ๕ ไขมัน ทั้งจากสัตว์และพืช ให้พลังงานและกรดไขมันที่จำเป็นแก่ร่างกาย

สาร อาหารเหล่านี้ช่วยให้เด็กเจริญเติบโตได้สมวัย ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งสิ่งที่จะตามมาคือความบกพร่อง ของร่างกายและสติปัญญา เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ดังนั้นในทุกมื้ออาหารผู้ปกครองควรจะดูแลให้เด็กๆ กินอาหารครบถ้วน พอเพียง และหลากหลาย

การจำกัดอาหารในเด็กเล็ก
หากว่าเป็น เด็กเล็กที่มีความอ้วนมากเกินไป จนเกิด โรคแทรกซ้อน เช่น หายใจลำบาก กระดูกพิการ เป็นต้น มีความจำเป็นที่จะต้องลดน้ำหนัก การจะลดอาหารจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากเด็กในช่วงอายุ ๒ ขวบ เป็นช่วงสำคัญที่สมองกำลังเจริญเติบโต
รศ.พญ.อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้คำแนะนำว่า

" ในกรณีที่เป็นเด็กอายุน้อยกว่า ๒ ขวบ และเพิ่งเริ่มอ้วนหรืออ้วนเพียงเล็กน้อย เราแนะนำว่าให้กินอาหารเท่าเด็กปกติ คือเด็กที่อ้วนมักกินอาหารมากกว่าธรรมดา เมื่อเราให้เขากลับมากินอาหารเท่าเด็กปกติ แล้วเขาสูงขึ้น ซึ่งเด็กช่วง ๒ ขวบปีแรกจะสูงได้ค่อนข้างเร็ว จะทำให้ความอ้วนของเขาลดลง
ยกเว้นในกรณี ที่อ้วนมากจนเกิดผลแทรกซ้อน เช่น หายใจลำบาก ขาดออกซิเจน อย่างนี้เราจะต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลและดูแลอย่างใกล้ชิด ต้องจำกัดอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น แป้ง น้ำตาล น้ำมัน กะทิ เนย เพื่อให้เด็กที่อ้วนมากจนมีโรคแทรกได้รับพลังงานจากอาหารน้อยกว่าเด็กปกติ ที่สูงเท่ากัน แต่ไม่น้อยเกินไปจนเกิดอันตราย"Ž

คุณหมอเน้นย้ำว่าเด็กที่อ้วนตั้งแต่เล็กๆ จะต้องอยู่ ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

" ในกรณีเด็กเล็ก การจำกัดอาหารเองอาจจะไม่ปลอดภัย ที่ว่าไม่ปลอดภัยก็คือมีผลเสียต่อการเติบโตและสมอง ในช่วงอายุ ๒-๔ ขวบเซลล์สมองของเด็กมีโอกาสเติบโตได้อีก ดังนั้นจึงควรระวังไม่ให้เด็กที่มีปัญหาเรื่องอ้วนเกิดการขาดสารอาหารจากการ รักษา แต่ถ้าเผื่อว่าเขาต้องจำกัดอาหาร ก็จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กไม่ขาดโปรตีน ไม่ขาด วิตามิน ไม่ขาดแร่ธาตุ เช่น เหล็ก สังกะสี แคลเซียมหรือสารอาหารอื่นๆ ที่จะมีผลต่อสมองและการเจริญเติบโตของเด็ก ควรมีการดูแลที่มั่นใจว่าเด็กถูกจำกัดอาหารเฉพาะพลังงานแต่อย่างอื่นครบ อาจจะต้องมีการเสริมวิตามินรวมถ้าจำกัดอาหารมาก"Ž


ถ้าเป็นเด็ก อายุมากขึ้น คือเด็กวัยรุ่นหรือเด็กโตแล้ว ถ้าเผื่ออ้วนเล็กน้อย ควรแนะนำให้เขากลับมากินอาหารเท่าเด็กปกติ เพื่อให้น้ำหนักไม่เพิ่มหรือเพิ่มช้าแต่สูงขึ้นตามวัย ทำให้รูปร่างได้สัดส่วน แต่ถ้าเป็นเด็กที่อ้วนปาน-กลางหรืออ้วนมาก ก็จะต้องให้อาหารที่มีพลังงานน้อยกว่าเด็กปกติ คุณหมอแนะนำต่อว่า

" ในกรณีที่เด็กอ้วนมีอายุมากกว่า ๒ ขวบ ควรจะให้ดื่มนมที่มีไขมันต่ำ หรือนมพร่องมันเนย เพราะนมพร่องมันเนยให้สารอาหารที่มีประโยชน์ไม่ต่างจากนมธรรมดา ยกเว้นไขมันต่ำ เหมาะสำหรับเด็กอ้วนที่เราต้องการจะจำกัดไขมันในอาหารอยู่แล้ว แต่ควรเป็นนมพร่องมันเนยที่มีรสจืดด้วย เพราะถ้าเป็นนมพร่องมันเนยที่มีรสหวานก็ให้พลังงานไม่น้อย
"

เพิ่มผัก...เพิ่มพลังลดความอ้วน

รายการอาหารที่จะเป็นพระเอกในการช่วยเหลือคนที่จะลดความอ้วนหนีไม่พ้น อาหารประเภทผัก แต่สำหรับเด็กๆ แล้ว ผักเป็นเหมือนยาขมที่เขาไม่ชอบกิน คุณหมออุมาพรกล่าวว่า

" เด็กอ้วนส่วนหนึ่งจะไม่กินผัก เพราะฉะนั้นจึงแนะนำให้เพิ่มผัก และควรแนะนำให้เอาผักมาทำอาหารที่ไขมันไม่มาก เช่น แกงจืด สลัดน้ำใส หรือผัดกับน้ำหรือน้ำมันเพียงเล็กน้อย เป็นต้น ไม่ใช่บอกให้กินผัก ก็ไปกินผัดผักเอาน้ำมันมาราดข้าว"Ž

ต่อไปนี้คือวิธีการประกอบอาหารแบบที่ง่ายและเหมาะสมสำหรับที่จะลดความอ้วน

ผัดผัก (ด้วยน้ำ)
เอา น้ำพอสมควรตั้งไฟให้เดือด แล้วใส่เนื้อไม่ติดมัน ลงไป เนื้อที่ไม่ติดมันนี้ก็ยังมีน้ำมัน อาจจะเคยสังเกตว่าเวลาเราเอาเนื้ออกไก่หรือว่าเนื้อหมูเนื้อสันในใส่ลงไปใน น้ำจะมีมันออกมา เพราะว่าในเนื้อไม่ติดมันประมาณ ๒ ช้อนโต๊ะ จะมีน้ำมันประมาณ ๑ ช้อนชา ที่เรามองไม่เห็น เพราะฉะนั้นพอเราเอาเนื้อที่ไม่ติดมันใส่ลงไปในน้ำที่ร้อนจัด ใส่ผักสดลงไป ผัดจนสุก ปรุงรสพอสมควร อย่าให้หวาน ก็จะได้อาหารอร่อยแต่มีพลังงานต่ำ

นอก จากรายการนี้แล้วยังมีอาหารจานอื่นๆ ที่หลีกเลี่ยงไขมันได้ เช่น แกงจืด เกาเหลา ต้มจับฉ่าย สุกียากี้ สลัดน้ำใส ยำ รายการเหล่านี้ทุกจานเน้นผัก
คุณหมอกล่าวว่า ในอาหารทุกมื้อควรจะมีผักสักหนึ่งทัพพี จึงจะเหมาะสม นอกจากนั้นจะต้องปฏิบัติดังนี้คือ

" อาหารอย่างอื่นคือพวกข้าวและแป้ง ควรลดลง ปกติเด็กโตและผู้ใหญ่จะกินข้าวมื้อละประมาณ ๒-๓ ทัพพี เด็กอ้วนอาจจะกินมื้อละ ๑-๒ ทัพพี แล้วแต่ความสูง ต้องลดอาหารที่มีการทอด ผัด หลีกเลี่ยงอาหารที่ ใช้กระทะ อาหารที่ทำจะต้องไม่หวาน ใช้รสธรรมชาติ พยายามที่จะไม่ให้มีรสจัด ไม่ว่าจะหวานจัด เค็มจัด สำหรับเนื้อสัตว์ต้องย้ำว่าให้กินเป็นประจำ แต่ละมื้อ ให้มากพอเพียงกับความต้องการ เช่น มื้อละประมาณ ๒-๔ ช้อนโต๊ะ และดื่มนมวันละประมาณ ๒ แก้วทุกวัน
ขอย้ำว่า เด็กที่ลดความอ้วนโดยผิดวิธีจะไม่ได้ผล เช่น กินแต่ผลไม้ทั้งวัน ซึ่งจริงๆ แล้วผลไม้มีน้ำตาล ยิ่งกินมากก็ยิ่งอ้วน จึงควรกินอาหารครบทุกหมู่ ผลไม้ไม่ควรกินมาก อาจจะวันละสัก ๒ ครั้งหรือ ๓ ครั้ง ครั้งละประมาณ ๑ ทัพพีเท่านั้นก็พอ นอกจากนี้ไม่ควรอดอาหารเป็นมื้อๆ เพราะจะขาดอาหารหรือหิวมากในมื้อถัดไปหรือปวดท้อง"Ž


นี่คือวิธี ปฏิบัติที่ไม่ยากสำหรับการลดความอ้วนในเด็ก เพียงแต่ผู้ปกครองจะต้องมีความระมัดระวังในเรื่องอาหารการกิน ตั้งแต่สิ่งที่เด็กกินไปจนกระทั่งถึงกรรมวิธีที่ใช้ในการปรุงอาหาร และถ้าจะให้ดีที่สุด ควรที่จะปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจำกัดอาหาร ของบุตรหลานที่เป็นโรคอ้วน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียงอันเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของสมอง และร่างกายของเด็ก

ลดสัดส่วน

Q: ปัญหาการลดสัดส่วนเฉพาะส่วน ลดน่อง, ลดหน้าท้อง, ลดต้นแขน มีวิธีการรักษาแบบไหนบ้าง ต่างจากพวก Body shape, Marie France ?? อย่างไร
A:
สำหรับการลดสัดส่วนเฉพาะบริเวณ สามารถทำการรักษาได้หลายวิธี ซึ่งสามารถจำแนกเป็น 3 กลุ่ม คือ การทำทรีตเมนลดสัดส่วน เช่น Carboxy ,Vela,Thermafirm ,Ultra shape ,Hypoxy ,New lite ,การนวดสลายเซลลูไล,การใช้ผ้าห่มร้อน ซึ่งควรทำต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 1- 2 ครั้ง ,การรับประทานยา หรืออาหารเสริมเร่งการเผาผลาญ และการทำเลเซอร์สลายไขมัน หรือใช้คลื่นอัลตร้าโซนิกสลายไขมันแล้วดูดออกที่เรียกว่าVaser liposelection ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ต้องการลดและความต้องการของผู้รับบริการ
สำหรับการลดสัดส่วนบริเวณน่อง หากเป็นสาเหตุจากการเกร็งของกล้ามเนื้อ สามารถฉีดBotox เพื่อช่วยลดการหดเกร็งของมัดกล้ามเนื้อบริเวณน่องได้ แต่หากเป็นการสะสมของไขมันก็สามารถทำทรีตเมนท์ลดสัดส่วน เช่นการฉีดCarboxy ร่วมกับการทำThermafirm หรือVela shape ได้ แต่หากไม่มีเวลา หรือต้องการการรักษาที่ทำเพียงครั้งเดียว สามารถทำเลเซอร์สลายไขมัน เพื่อลดสัดส่วนบริเวณนั้น
สำหรับการลดต้นแขนสามารถ ทำVela smooth ,Vela shape เพื่อช่วยให้ผิวบนกระชับและจัดโครงสร้างไขมันร่วมกับการฉีดCarboxy เพื่อสลายไขมันบริเวณนั้น ซึ่งใช้ความต่อเนื่องประมาณ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ หรือทำเลเซอร์เพื่อสลายไขมัน หรือ Vaser เพื่อดูดไขมันออกได้เลย
การลดสัดส่วนบริเวณหน้าท้องสามารถทำได้ด้วยทรีตเมนท์ลดสัดส่วน หรือการทำVaser lipo selection ก็ได้
การรักษาของรมย์รวินท์ต่างจากการรักษาแบบของสถาบันลดสัดส่วนทั่วๆไป เนื่องจากรมย์รวินท์ จะใช้การรักษาแบบที่อิงการรักษาทางการแพทย์ร่วมด้วย เช่น การฉีด Carboxy ,การยิงเลเซอร์สลายไขมัน , Vaser และนอกจากนี้การรักษาของรมย์รวินท์จะเน้นการทำทรีตเมนท์หลายแบบมาผสมผสานกัน เพื่อให้การ รักษาได้ผลรวดเร็ว และตรงกับปัญหาของลูกค้าในแต่ละบริเวณด้วย

การลดไขมัน

หญิงสาวหน้าตาสวย รูปร่างอ้วน อายุประมาณ ๓๐ เศษ ก้าวเดินฉับๆเข้าไปในร้านหมอ
หญิง : “ดิฉันต้องการมาลดไขมันค่ะ”
หมอ : “ไขมันที่ไหนครับ”
หญิง : “อ้าว...หมอไม่รู้เหรอว่าเขาลดไขมันที่ไหน ก็ลดไขมันที่ท้อง สะโพก ต้นขา นี่แหละค่ะ สำคัญกว่าที่อื่น”
หมอ : “ครับ ถ้าคุณจะลดไขมันที่ท้อง สะโพก และต้นขา คุณไม่ต้องหาหมอก็ได้ครับ เพราะการลดไขมันที่ท้อง สะโพก และต้นขานั้นคุณจะต้องทำด้วยตัวคุณเอง”
หญิง : “ทำอย่างไรคะ”
หมอ : “ลด น้ำหนักครับ โดยลดอาหารลงให้มากๆ โดยเฉพาะอาหารจำพวกแป้ง อาหารหวาน และไขมัน เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ แกงกะทิ ของผัด ของทอด ของที่ใส่น้ำมัน ไอศกรีม น้ำอัดลม เป็นต้น
เมื่อคุณลดอาหารลงได้แล้ว ก็ควรออกกำลังกายเฉพาะส่วนเอว ส่วนท้อง ส่วนสะโพก และขาให้มากขึ้น”
หญิง : “ดิฉัน เคยลดน้ำหนักแล้วค่ะ เคยกินยาลดความอ้วนที่คลินิกลดความอ้วนมาหลายแห่ง แต่มันก็ลดได้บ้างในช่วงที่กินยาอยู่ พอหยุดยาก็อ้วนขึ้นมาใหม่ และหลายครั้งอ้วนกว่าเดิมอีกด้วย”
หมอ : “ครับ ที่จริงคุณก็มีประสบการณ์มามากแล้ว คุณน่าจะช่วยตนเองได้”
หญิง : “หมอไม่ให้ยาลดความอ้วนช่วยดิฉันบ้างหรือคะ”
หมอ : “เอ...หมอว่าคุณเข้าใจผิด หรือมีคนทำให้คุณเข้าใจผิดว่ามียาลดความอ้วน ไม่มีหรอกครับยาลดความอ้วน”
หญิง : “มี สิคะ คลินิกตั้งหลายแห่งให้ยาลดความอ้วนหรือยาลดน้ำหนักแก่ดิฉัน กินแล้วทำให้คลื่นไส้ เบื่ออาหาร จนกินไม่ได้ แล้วน้ำหนักของดิฉันก็ลดลง แต่พอหยุดกินยา น้ำหนักกลับขึ้นอย่างรวดเร็ว และบางทีอ้วนกว่าเดิมอีกมาก”
หมอ : “ยา ลดความอ้วนหรือยาลดน้ำหนักที่คุณใช้ไม่ใช่ยาลดความอ้วนหรือยาลดน้ำหนักหรอก ครับ ต้องเรียกว่ายาเบื่ออาหารจึงจะถูกต้อง “เพราะยาเหล่านี้ไม่สามารถลดน้ำหนักหรือลดความอ้วนได้ ถ้าคุณยังกินอาหารเท่าเดิมแต่เนื่องจากยาเหล่านี้ทำให้คุณเบื่อ อาหารและเกิดอาการคลื่นไส้หรือทำให้ลิ้นรับรสชาติของอาหารผิดไป คุณจึงกินอาหารได้น้อยลง“การกินอาหารน้อยลงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผอมลง ไม่ใช่ยาหรอกครับ“คนบางคนคิดว่า ถ้ากินยาลดน้ำหนักแล้วจะกินอาหารได้เต็มที่ คนพวกนี้กลับจะอ้วนขึ้น แทนที่จะผอมลงครับ”
หญิง : “ถ้าอย่างนั้น หมอให้ยาลดไขมันแก่ดิฉันก็ได้ หมออย่าบอกว่า ไม่มียาลดไขมันอีกล่ะ”
หมอ : “ยาลดไขมันน่ะมีครับ แต่มันไม่สามารถลดไขมันในท้อง ในสะโพก และในต้นขาของคุณได้ มันลดได้เฉพาะไขมันในเลือดเท่านั้น ”
หญิง : “ดิฉันอ้วน มีไขมันมาก ไขมันในเลือดก็ต้องสูงด้วย จริงมั้ยคะ”
หมอ : “ไม่ จริงครับ คนอ้วนนั้นอ้วนเพราะมีไขมันใต้ผิวหนัง และในท้องเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ แต่ไขมันในเลือดจะสูงหรือไม่ก็ได้ครับ คุณพ่อคุณแม่หรือพี่น้องของคุณมีไขมันในเลือดสูงบ้างมั้ยครับ”
หญิง : “ไม่มีค่ะ คุณหมอถามทำไมคะ”
หมอ : “คน ที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูงมักเป็นโรคที่สืบทอดทางกรรมพันธุ์โดยตรงหรือโดย อ้อม เช่น เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งส่วนใหญ่สืบทอดกรรมพันธุ์ แม้จะไม่ใช่โรคที่ทำให้ไขมันในเลือดสูงโดยตรง แต่ถ้าควบคุมรักษาระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ดี ก็จะมีโอกาสทำให้ไขมันในเลือดสูงขึ้นอย่างมากๆได้ ซึ่งเป็นผลทางอ้อมจากการที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ดี ส่วนคนที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูงแต่กำเนิด พวกนี้จะสืบทอดทางกรรมพันธุ์โดยตรง ทำให้เป็นโรคไขมันในเลือดสูง โดยไม่ต้องเป็นโรคอื่นก่อน”
หญิง : “ตกลงหมอจะไม่ให้ยาลดไขมันแก่ดิฉันหรือคะ”
หมอ : “ถ้าหมอจะให้ยาลดไขมันคุณ หมอก็ต้องรู้ก่อนว่าไขมันในเลือดของคุณสูง และจะต้องสูงมากและสูงอย่างถาวร จึงควรจะใช้ยาลดไขมัน”
หญิง : “แล้วหมอดูไม่ออกหรือว่าไขมันในเลือดของดิฉันสูง”
หมอ : “ดูไม่ออกครับ ถ้าไขมันในเลือดของคุณสูง ก็ไม่สูงมาก เพราะยังไม่มีวงขาวรอบตาดำคุณ ไม่มีปื้นไขมันที่หนังตาคุณ และไม่มีก้อนไขมันที่ข้อศอกของคุณ เท่าที่หมอมองเห็นได้”
หญิง : “โคเลสเตอรอลในเลือดของดิฉัน ๒๔๐ ค่ะ สูงมั้ยคะ”
หมอ : “จะถือว่าสูงก็ได้ ไม่สูงก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าก่อนไปตรวจเลือดในตอนเช้านั้นคุณอดอาหารมาแล้วอย่างน้อย ๑๒ ชั่วโมงหรือไม่ “ถ้าคุณอดอาหารมาน้อยกว่านั้น ค่าที่ได้อาจนำมาแปลผลลำบาก
“นอก จากนั้น ถ้าในระยะ ๒-๓ วันก่อนตรวจเลือด คุณกินอาหารมันมากๆ เช่น ไปกินหมูหัน สเต็ก เนื้อมันๆ เป็ดปักกิ่ง หรือของมันๆอื่นๆมาตลอด เวลาไปตรวจเลือดไขมันเหล่านี้ก็จะสูงขึ้น
“ไขมันในเลือดโดยเฉพาะโคเลสเต อรอลยังขึ้นๆลงๆตามปัจจัยอื่นๆอีก เช่น เครียดมากหรือนาน ก็จะสูงขึ้น ออกกำลังกายเป็นประจำก็จะลดลง ทำสมาธิวิปัสสนาได้ดีก็จะลดลง เป็นต้น
ดัง นั้น ถ้าคุณเจาะเลือดครั้งเดียว แล้วพบว่าไขมันสูง อย่าเพิ่งปักใจเชื่อว่าไขมันในเลือดของคุณสูงจริงหรือสูงมานาน “คุณลองระวังอาหารสักหน่อย และพยายามลดความเครียดลง แล้วอีก ๒-๓ สัปดาห์ลองไปเจาะเลือดดูใหม่ ผลเลือดอาจแตกต่างจากครั้งก่อนได้อย่างมากๆ”
หญิง : “ถ้าเจาะใหม่แล้วยังสูง ๒๔๐ ล่ะคะ”
หมอ : “ก็ ยังไม่ต้องใช้ยาลดไขมันอยู่ดี ควรลดอาหารไขมันลงมากๆ โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู ไข่แดง มันสัตว์ เช่น คอหมูเนื้อสามชั้น เบคอน ไส้กรอก นมเนย เป็นต้น “แล้วออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเริ่มน้อยๆก่อนแล้วค่อยๆเพิ่มขึ้น จนเหงื่อออกพอสมควรทุกวัน ร่างกายคุณจะแข็งแรงขึ้น และไขมันจะลดลง”
หญิง : “หมายความว่า คุณหมอจะไม่ยอมให้ยาอะไรแก่ดิฉันเลย”
หมอ : “โดย ความจริงแล้ว คุณยังไม่ได้เป็นโรค เพียงแต่อ้วนเท่านั้น หรือคุณจะเรียกว่า ‘โรคอ้วน’ก็ได้ เพราะถ้าทิ้งไว้นานๆมันจะนำพาโรคอื่นมาให้
การรักษาโรคอ้วน’ นั้นขึ้นอยู่กับตัวคุณเองที่จะต้องลดอาหารลง โดยเฉพาะอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และของมันต่างๆ”
หญิง : “หมอบางคนเขามีอาหารลดความอ้วน หมอไม่มีหรือคะ”
หมอ : “อาหาร ลดความอ้วนที่ดีที่สุดคือ ผักและน้ำ กินผักและน้ำให้อิ่มท้องก่อนจะกินอาหารอื่นจะทำให้ลดอาหารอื่นลงได้ เช่น ดื่มน้ำสัก ๓-๔ แก้วก่อนกินอาหารทุกมื้อ อาจใช้เม็ดแมงลักสัก ๑-๒ ช้อนโต๊ะคนๆกับน้ำแล้วดื่มตามลงไปด้วย เม็ดแมงลักจะไปพองตัวในกระเพาะ ทำให้อมอยู่ได้นาน แล้วยังช่วยให้อุจจาระนุ่ม ถ่ายสบายอีกด้วย”
หญิง : “นี่หมอจะไม่ให้ยาอะไรดิฉันเลยหรือ แล้วหมอจะคิดค่ายาอย่างไร”
หมอ : “ก็ร่างกายคุณไม่ต้องการยาอะไรเลย มีแต่ใจของคุณที่อยากได้ยาเพื่อช่วยกำลังใจคุณบ้าง
“ถ้าคุณอยากได้ยาจริงๆ หมอก็จะให้วิตามินรวมคุณไปกินวันละ ๑-๒ เม็ด เพราะการลดอาหารบางอย่างอาจทำให้ร่างกายขาดวิตามินบางตัวได้”
หญิง : “ดิฉันไม่เอาวิตามินค่ะ เพราะกลัวว่ากินแล้วจะอ้วน”
หมอ : “วิตามิน ไม่ทำให้อ้วนครับ และก็ไม่ใช่ยาบำรุงร่างกายด้วย มันมีประโยชน์สำหรับรักษาโรคที่เกิดจากการขาดวิตามินเท่านั้น ถ้าร่างกายไม่ขาดวิตามิน กินไปก็เปลืองท้อง และเปลืองเงินเปล่าๆ”
หญิง : “ขอบคุณมากค่ะ ตกลงหมอเสียเวลาเปล่านะคะ เพราะหมออยากไม่จ่ายยาให้ดิฉันเอง”
หมอ : “ไม่ เป็นไรครับ เมื่อคุณลดน้ำหนักได้แล้วเอาเงินที่เก็บได้จากการซื้อยาซื้ออาหารที่ไม่จำ เป็นไปช่วยเหลือเด็กที่ยากจนและขาดแคลนอาหารบ้างก็แล้วกันครับ”

อาหาร : ปัจจัยหลักของชีวิต

เมื่อกล่าวถึง “อาหาร” ทุกคนรู้จักดี สำหรับคนไทยส่วนใหญ่จะนึกถึงข้าว กับข้าว และขนม แต่แท้ที่จริงแล้ว “อาหาร” มีความหมายลึกซึ้งกว่านั้น และที่สำคัญ คือ อาหารเป็นปัจจัยหลักของชีวิต เนื่องจากอาหารให้พลังงานแก่ร่างกาย อาหารให้การเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ อาหารควบคุมการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ภายในร่างกาย และอาหารช่วยให้อวัยวะต่างๆทำงาน และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ ดังนั้น ในการเลี้ยงดู และให้การพยาบาล การให้อาหารที่ถูกต้องและเหมาะสม จึงเป็นความจำเป็นสำหรับแต่ละบุคคล

“การดูแลเรื่องอาหารในบ้าน” ผู้ให้การดูแลควรมีความรู้เกี่ยวกับอาหารที่ครบส่วนและเพียงพอสำหรับร่างกาย ดังนี้

1. อาหาร “จำแนกประเภทออกตามสารอาหาร” เป็น 5 หมู่ คือ

หมู่ที่ 1 อาหารประเภทโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่ว

หมู่ที่ 2 อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ แป้ง ข้าว หัวเผือก มัน และน้ำตาล

หมู่ที่ 3 อาหารประเภทไขมัน ได้แก่ น้ำมันพืชและสัตว์ ไขมันสัตว์

หมู่ที่ 4 อาหารประเภทพืช ผัก ได้แก่ ผักต่างๆ

หมู่ที่ 5 อาหารประเภทผลไม้ ได้แก่ ผลไม้ชนิดต่างๆ

2. อาหาร “แบ่งตามหน้าที่เป็น 3 กลุ่ม” คือ

ก. อาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมัน สำหรับโปรตีน ถ้าร่างกายได้รับพลังงานไม่เพียงพอ ก็จะถูกเผาผลาญในร่างกายให้พลังงานได้เช่นกัน

ข. อาหารที่นำไปสร้างเป็นส่วนประกอบของร่างกาย ได้แก่ อาหารประเภทโปรตีน

ค. อาหารที่ใช้ควบคุมกระบวนการต่างๆ ภายในร่างกาย ได้แก่ อาหารประเภทผักและผลไม้ ซึ่งประกอบด้วย เกลือ แร่ธาตุต่างๆ และวิตามิน

3. ไม่มีสารอาหารใดทำหน้าที่ทั้ง 3 ประการได้อย่างครบถ้วน ดังนั้น จึงต้องกินอาหารหลายๆ ชนิดเพื่อร่างกายจะได้รับสารอาหารครบถ้วน

4. ปริมาณอาหารที่กินขึ้นอยู่กับความต้องการของร่างกาย ซึ่งแตกต่างกันตามเพศ วัย และสภาวะการทำงานของแต่ละบุคคล

5. อาหารสำหรับผู้ป่วยที่ต้องควบคุมหรือจำกัดอาหารบางประเภท เรียกว่า “อาหารเฉพาะโรค”

กินอย่างไร ช่วยลดสัดส่วนให้สมวัย

กินอย่างไร ช่วยลดสัดส่วนให้สมวัย


ในคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือที่เรียกว่าอ้วนนั้น มักมีความต้องการที่จะลดน้ำหนักให้น้อยลง วิธีการที่ใช้กันมากที่สุดก็คือการลดหรือจำกัดอาหารร่วมกับการออกกำลังกาย

สำหรับ ผู้ใหญ่ที่อ้วน ก็คงสามารถจะจำกัดอาหารได้ตามถนัด แต่ ในเด็กที่อ้วนการจำกัดอาหารเป็นวิธีที่ต้องทำด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากร่างกายและสมองของเด็กนั้นกำลังเจริญเติบโต การจำกัดอาหาร อย่างไม่ถูกวิธีอาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อการพัฒนาระบบต่างๆ ของเด็กได้

สารอาหารสำคัญที่สุดต่อการเจริญเติบโตของเด็ก

สำหรับเด็กทั่วไปสิ่งที่สำคัญที่สุดในการกินอาหารที่จะต้องปฏิบัติเป็นประจำคือการกินอาหารให้ได้สารอาหารครบ ๕ หมู่ ได้แก่
หมู่ที่ ๑ โปรตีน ได้จากอาหารประเภท เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นม และถั่ว อาหารประเภทนี้ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
หมู่ที่ ๒ คาร์โบไฮเดรต ได้จากอาหารประเภท ข้าว แป้ง เผือก มัน และน้ำตาล อาหารประเภทนี้ให้พลังงานแก่ร่างกาย
หมู่ที่ ๓ พืชผักต่างๆ ให้สารอาหารประเภทวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร ช่วยเสริมสร้างการทำงาน ของร่างกาย และช่วยในการขับถ่าย
หมู่ที่ ๔ ผลไม้ต่างๆ ให้สารอาหารประเภทวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร รวมทั้งให้พลังงานเพราะในผลไม้มีน้ำตาล
หมู่ที่ ๕ ไขมัน ทั้งจากสัตว์และพืช ให้พลังงานและกรดไขมันที่จำเป็นแก่ร่างกาย

สาร อาหารเหล่านี้ช่วยให้เด็กเจริญเติบโตได้สมวัย ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งสิ่งที่จะตามมาคือความบกพร่อง ของร่างกายและสติปัญญา เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ดังนั้นในทุกมื้ออาหารผู้ปกครองควรจะดูแลให้เด็กๆ กินอาหารครบถ้วน พอเพียง และหลากหลาย

การจำกัดอาหารในเด็กเล็ก
หากว่าเป็น เด็กเล็กที่มีความอ้วนมากเกินไป จนเกิด โรคแทรกซ้อน เช่น หายใจลำบาก กระดูกพิการ เป็นต้น มีความจำเป็นที่จะต้องลดน้ำหนัก การจะลดอาหารจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากเด็กในช่วงอายุ ๒ ขวบ เป็นช่วงสำคัญที่สมองกำลังเจริญเติบโต
รศ.พญ.อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้คำแนะนำว่า

" ในกรณีที่เป็นเด็กอายุน้อยกว่า ๒ ขวบ และเพิ่งเริ่มอ้วนหรืออ้วนเพียงเล็กน้อย เราแนะนำว่าให้กินอาหารเท่าเด็กปกติ คือเด็กที่อ้วนมักกินอาหารมากกว่าธรรมดา เมื่อเราให้เขากลับมากินอาหารเท่าเด็กปกติ แล้วเขาสูงขึ้น ซึ่งเด็กช่วง ๒ ขวบปีแรกจะสูงได้ค่อนข้างเร็ว จะทำให้ความอ้วนของเขาลดลง
ยกเว้นในกรณี ที่อ้วนมากจนเกิดผลแทรกซ้อน เช่น หายใจลำบาก ขาดออกซิเจน อย่างนี้เราจะต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลและดูแลอย่างใกล้ชิด ต้องจำกัดอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น แป้ง น้ำตาล น้ำมัน กะทิ เนย เพื่อให้เด็กที่อ้วนมากจนมีโรคแทรกได้รับพลังงานจากอาหารน้อยกว่าเด็กปกติ ที่สูงเท่ากัน แต่ไม่น้อยเกินไปจนเกิดอันตราย"Ž

คุณหมอเน้นย้ำว่าเด็กที่อ้วนตั้งแต่เล็กๆ จะต้องอยู่ ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

" ในกรณีเด็กเล็ก การจำกัดอาหารเองอาจจะไม่ปลอดภัย ที่ว่าไม่ปลอดภัยก็คือมีผลเสียต่อการเติบโตและสมอง ในช่วงอายุ ๒-๔ ขวบเซลล์สมองของเด็กมีโอกาสเติบโตได้อีก ดังนั้นจึงควรระวังไม่ให้เด็กที่มีปัญหาเรื่องอ้วนเกิดการขาดสารอาหารจากการ รักษา แต่ถ้าเผื่อว่าเขาต้องจำกัดอาหาร ก็จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กไม่ขาดโปรตีน ไม่ขาด วิตามิน ไม่ขาดแร่ธาตุ เช่น เหล็ก สังกะสี แคลเซียมหรือสารอาหารอื่นๆ ที่จะมีผลต่อสมองและการเจริญเติบโตของเด็ก ควรมีการดูแลที่มั่นใจว่าเด็กถูกจำกัดอาหารเฉพาะพลังงานแต่อย่างอื่นครบ อาจจะต้องมีการเสริมวิตามินรวมถ้าจำกัดอาหารมาก"Ž


ถ้าเป็นเด็ก อายุมากขึ้น คือเด็กวัยรุ่นหรือเด็กโตแล้ว ถ้าเผื่ออ้วนเล็กน้อย ควรแนะนำให้เขากลับมากินอาหารเท่าเด็กปกติ เพื่อให้น้ำหนักไม่เพิ่มหรือเพิ่มช้าแต่สูงขึ้นตามวัย ทำให้รูปร่างได้สัดส่วน แต่ถ้าเป็นเด็กที่อ้วนปาน-กลางหรืออ้วนมาก ก็จะต้องให้อาหารที่มีพลังงานน้อยกว่าเด็กปกติ คุณหมอแนะนำต่อว่า

" ในกรณีที่เด็กอ้วนมีอายุมากกว่า ๒ ขวบ ควรจะให้ดื่มนมที่มีไขมันต่ำ หรือนมพร่องมันเนย เพราะนมพร่องมันเนยให้สารอาหารที่มีประโยชน์ไม่ต่างจากนมธรรมดา ยกเว้นไขมันต่ำ เหมาะสำหรับเด็กอ้วนที่เราต้องการจะจำกัดไขมันในอาหารอยู่แล้ว แต่ควรเป็นนมพร่องมันเนยที่มีรสจืดด้วย เพราะถ้าเป็นนมพร่องมันเนยที่มีรสหวานก็ให้พลังงานไม่น้อย

เพิ่มผัก...เพิ่มพลังลดความอ้วน
รายการ อาหารที่จะเป็นพระเอกในการช่วยเหลือคนที่จะลดความอ้วนหนีไม่พ้นอาหารประเภท ผัก แต่สำหรับเด็กๆ แล้ว ผักเป็นเหมือนยาขมที่เขาไม่ชอบกิน คุณหมออุมาพรกล่าวว่า

" เด็กอ้วนส่วนหนึ่งจะไม่กินผัก เพราะฉะนั้นจึงแนะนำให้เพิ่มผัก และควรแนะนำให้เอาผักมาทำอาหารที่ไขมันไม่มาก เช่น แกงจืด สลัดน้ำใส หรือผัดกับน้ำหรือน้ำมันเพียงเล็กน้อย เป็นต้น ไม่ใช่บอกให้กินผัก ก็ไปกินผัดผักเอาน้ำมันมาราดข้าว"Ž

ต่อไปนี้คือวิธีการประกอบอาหารแบบที่ง่ายและเหมาะสมสำหรับที่จะลดความอ้วน

ผัดผัก (ด้วยน้ำ)
เอา น้ำพอสมควรตั้งไฟให้เดือด แล้วใส่เนื้อไม่ติดมัน ลงไป เนื้อที่ไม่ติดมันนี้ก็ยังมีน้ำมัน อาจจะเคยสังเกตว่าเวลาเราเอาเนื้ออกไก่หรือว่าเนื้อหมูเนื้อสันในใส่ลงไปใน น้ำจะมีมันออกมา เพราะว่าในเนื้อไม่ติดมันประมาณ ๒ ช้อนโต๊ะ จะมีน้ำมันประมาณ ๑ ช้อนชา ที่เรามองไม่เห็น เพราะฉะนั้นพอเราเอาเนื้อที่ไม่ติดมันใส่ลงไปในน้ำที่ร้อนจัด ใส่ผักสดลงไป ผัดจนสุก ปรุงรสพอสมควร อย่าให้หวาน ก็จะได้อาหารอร่อยแต่มีพลังงานต่ำ

นอก จากรายการนี้แล้วยังมีอาหารจานอื่นๆ ที่หลีกเลี่ยงไขมันได้ เช่น แกงจืด เกาเหลา ต้มจับฉ่าย สุกียากี้ สลัดน้ำใส ยำ รายการเหล่านี้ทุกจานเน้นผัก
คุณหมอกล่าวว่า ในอาหารทุกมื้อควรจะมีผักสักหนึ่งทัพพี จึงจะเหมาะสม นอกจากนั้นจะต้องปฏิบัติดังนี้คือ

" อาหารอย่างอื่นคือพวกข้าวและแป้ง ควรลดลง ปกติเด็กโตและผู้ใหญ่จะกินข้าวมื้อละประมาณ ๒-๓ ทัพพี เด็กอ้วนอาจจะกินมื้อละ ๑-๒ ทัพพี แล้วแต่ความสูง ต้องลดอาหารที่มีการทอด ผัด หลีกเลี่ยงอาหารที่ ใช้กระทะ อาหารที่ทำจะต้องไม่หวาน ใช้รสธรรมชาติ พยายามที่จะไม่ให้มีรสจัด ไม่ว่าจะหวานจัด เค็มจัด สำหรับเนื้อสัตว์ต้องย้ำว่าให้กินเป็นประจำ แต่ละมื้อ ให้มากพอเพียงกับความต้องการ เช่น มื้อละประมาณ ๒-๔ ช้อนโต๊ะ และดื่มนมวันละประมาณ ๒ แก้วทุกวัน
ขอย้ำว่า เด็กที่ลดความอ้วนโดยผิดวิธีจะไม่ได้ผล เช่น กินแต่ผลไม้ทั้งวัน ซึ่งจริงๆ แล้วผลไม้มีน้ำตาล ยิ่งกินมากก็ยิ่งอ้วน จึงควรกินอาหารครบทุกหมู่ ผลไม้ไม่ควรกินมาก อาจจะวันละสัก ๒ ครั้งหรือ ๓ ครั้ง ครั้งละประมาณ ๑ ทัพพีเท่านั้นก็พอ นอกจากนี้ไม่ควรอดอาหารเป็นมื้อๆ เพราะจะขาดอาหารหรือหิวมากในมื้อถัดไปหรือปวดท้อง"Ž


นี่คือวิธี ปฏิบัติที่ไม่ยากสำหรับการลดความอ้วนในเด็ก เพียงแต่ผู้ปกครองจะต้องมีความระมัดระวังในเรื่องอาหารการกิน ตั้งแต่สิ่งที่เด็กกินไปจนกระทั่งถึงกรรมวิธีที่ใช้ในการปรุงอาหาร และถ้าจะให้ดีที่สุด ควรที่จะปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจำกัดอาหาร ของบุตรหลานที่เป็นโรคอ้วน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียงอันเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของสมอง และร่างกายของเด็ก